ทริคจับโป๊ะ"เว็บจริงหรือปลอม"

วันที่ : 30 Apr 2024 ผู้เขียน : Krungsri Consumer

ปัจจุบันการใช้งานอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆ ถือว่ามีความจำเป็นในการใช้ชีวิตของเราในหลายๆ ด้าน ในขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสให้กลุ่มมิจฉาชีพ ใช้เว็บไซต์ต่างๆ เหล่านั้นเป็นช่องทางในการหลอกลวง ทำให้มีผู้หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อมากมาย

ต่อไปนี้เป็น จุดสังเกตเบื้องต้นเพื่อให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มความระมัดระวัง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา

สังเกต URLs ของเว็บไซต์

1.URLs ของแต่ละเว็บไซต์ควรแสดงชื่อทางธุรกิจของบริษัทเจ้าของเว็บไซต์อย่างถูกต้องตรงกับชื่อทางธุรกิจของบริษัทนั้นๆ

2.URLs ของเว็บไซต์บริษัท หน่วยงาน หรือ องค์ประเภทเดียวกันมักจะมี URL ที่ลงท้ายคล้ายๆ กัน เช่น

  • หน่วยงานภาครัฐ มักจะลงท้ายด้วย .go.th สำนักนายกรัฐมนตรี จะใช้ www.thaigov.go.th หรือ กระทรวงการต่างประเทศ www.mfa.go.th .go.th
  • องค์กรพัฒนาเอกชน มักจะลงท้ายด้วย .or.th เช่น มูลนิธิ พรรคการเมือง องค์กรอิสระ
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา มักจะลงท้ายด้วย .ac.th
  • ธุรกิจร้านค้าในไทย มักจะลงท้ายด้วย .ac.th
  • ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม มักจะลงท้ายด้วย .net.th เป็นต้น

3.URLs เว็บไซต์ควรจะต้องขึ้นต้นด้วย https: นำหน้าหากไม่มีก็ขอให้เพิ่มความระมัดระวังว่าอาจเป็นเว็บปลอมได้

ตรวจสอบแหล่งที่มาของเว็บไซต์

1.ก่อนทำธุรกรรมออนไลน์กับบริษัทใด ควรตรวจสอบความมีตัวตน หรือที่ตั้งของบริษัทให้แน่ชัด

ข้อมูลของบริษัทที่มีตัวตนอยู่จริง จะต้องสามารถหาได้โดยง่ายจากเว็บไซต์ของบริษัทเอง หรือ Google map หรือ Google Map หรือ social platform ต่างๆ นอกจากนี้เราควรจะเช็คความสอดคล้องต้องกันของข้อมูลด้วย เช่น ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ และข้อมูลที่หาได้จากแหล่งอื่นๆ ควรจะเป็นข้อมูลเดียวกัน และถูกต้องตรงกัน

2.การทำธุรกรรมกับผู้ใดบนโลกออนไลน์ อย่างน้อยควรต้องตรวจสอบความมีตัวตน ข้อมูลบน platform ของบุคคลนั้น

หรือยอดผู้ติดตามก็มีส่วนในการพิจารณาด้วยเช่นกัน ไม่ควรไว้ใจการโฆษณาสินค้าที่มีราคาถูกเกินความเป็นจริง หรือส่วนลด แลก แจก หรือ ของแถม เพราะนั่นอาจจะเป็นกลลวงของกลุ่มมิจฉาชีพ สั่งสินค้าแล้วไม่ได้รับ สินค้าไม่ตรงปก

สิ่งสำคัญ

การทำธุรกรรมที่ต้องให้รหัสผ่านครั้งเดียว (One-time password) ในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์นั้น เป็นข้อมูลสำคัญที่ผู้ซื้อสินค้าต้องเป็นผู้กรอกรหัสด้วยตนเอง หากมีใครติดต่อมาเพื่อขอทราบข้อมูลดังกล่าว ต้องระวังว่าอาจจะกำลังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอยู่

หากสงสัยว่าอาจตกเป็นเหยื่อสามารถติดต่อเบอร์สายด่วนเพื่อแจ้งเหตุฯ ภัยจากมิจฉาชีพตลอด24 ชั่วโมง

  • ธนาคารกสิกรไทย โทร. 0-2888-8888 กด 001
  • ธนาคารกรุงไทย โทร. 0-2111-1111 กด 108
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา โทร. 1572 กด 5
  • ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333 หรือ 0-2645-5555 กด *3
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 0-2777-7575
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต โทร. 1428 กด 03
  • ธนาคารออมสิน โทร. 1115 กด 6
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย โทร. 0-2626-7777 กด 00
  • ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย โทร. 0-2697-5454
  • ธนาคารยูโอบี โทร. 0-2344-9555
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โทร. 0-2359-0000 กด 8
  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 0-2645-9000 กด 33
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 0-2555-0555 กด *3
  • ธนาคารยูโอบี และ ธนาคารซิตี้แบงก์ โทร. 0-2344-9555
  • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2165-5555 กด 6
  • ธนาคารทิสโก้ โทร. 0-2633-6000 กด *7

หรือ ติดต่อแจ้งที่ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) สายด่วนหมายเลข 1441 หรือหมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ แจ้งความออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

- บัตรเครดิต ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
- สินเชื่อส่วนบุคคล กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว

แชร์บทความนี้ไปยัง

บทความน่าสนใจอื่นๆ