- แบรนด์และพันธมิตร
-
เกี่ยวกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- เกี่ยวกับกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- รู้จักกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- พบกับคณะผู้บริหาร
-
นวัตกรรม
- นวัตกรรมจากกรุงศรี คอนซูมเมอร์
- LINE OFFICIAL ACCOUNT
- UCHOOSE
- AI MANOW (น้องมะนาว)
- VOICE AUTHENTICATION
- DATA MONETIZATION
- บริการลูกค้า
-
ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- ข่าวล่าสุด
- รายการข่าว
- ไลฟ์สไตล์
- ร่วมงานกับเรา


หลายคนที่มีเป้าหมายในการเก็บเงิน แบบจริงจัง อยากไปให้ถึงฝั่งฝัน อยากมีอิสรภาพทางการเงินโดยเร็ว และอยากมีเงินเก็บมากพอที่เรียกได้ว่า “มั่นคง” เมื่อยามเกษียณ แต่ไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นอย่างไรดี 10 วิธีต่อไปนี้ คือตัวช่วยออมเงินที่เห็นผลความสำเร็จได้แน่นอน
1️. ตัดเงินเข้าบัญชีเงินเก็บอัตโนมัติ
เมื่อเงินเดือนออกให้ตั้งระบบหักเงินอัตโนมัติเข้าบัญชีเงินออม ไม่ต้องกลัวว่าจะลืมออม และทำให้ออมได้สม่ำเสมอ
2️. งดสร้างหนี้เพิ่ม
หากอยากบรรลุเป้าหมายใหญ่ ต้องยอมตัดเป้าหมายย่อยระหว่างทาง เช่น งดแผนเปลี่ยนโทรศัพท์เครื่องใหม่ งดซื้อรถคันใหม่ หากของเก่ายังใช้งานได้ดีอยู่ หรือการชำระค่าบัตรเครดิตเต็มจำนวน ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่ม
3️. กำหนดให้มี 1 เดือนที่ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
ถึงแม้จะทำได้ยากสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องมีค่าใช้จ่ายไม่คาดคิด เพิ่มขึ้นมาไม่เว้นแต่ละเดือน แต่ลองกำหนดให้มี 1 เดือนที่จะไม่ใช้จ่ายอะไรฟุ่มเฟือยเลย นอกจากค่าใช้จ่ายรายเดือนดูซิ อาจได้เห็นเงินเก็บก้อนใหญ่ในเดือนนั้นเลย
4️. Say “NO” กับสิ่งยั่วยวนใจที่ทำให้เสียเงิน
บางครั้งก็อยากให้รางวัลตัวเองบ้างที่ทำงานหนักมาตลอด ด้วยการจัดอาหารมื้อหรูสักมื้อ หรือชมภาพยนตร์ดีๆ สักเรื่อง แต่เดี๋ยวก่อน ลองเปลี่ยนเป็นเมนูอาหารทำเองพร้อมเปิดดูซีรีส์ที่บ้าน ก็มีความสุขได้ไม่แพ้กัน
5️. ช้อปปิ้งสมาร์ท ฉลาดเลือก ฉลาดใช้
ใช้ชีวิตอย่างสมาร์ทช่วยให้มีเก็บเงินได้มาก ซื้อของเข้าบ้านทุกเดือนอย่างสมาร์ทด้วยการตรวจสอบส่วนลด คูปอง กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ ที่อาจได้รับทั้งส่วนลดและเครดิตเงินคืน และของสมนาคุณ
6️. ตรวจสอบสิทธิพิเศษของสายการบินและที่พัก
การเก็บเงินอย่างหนักไม่ได้หมายความว่าจะไปเที่ยวพักผ่อนไม่ได้ แต่ต้องไปอย่างประหยัดคุ้ม เช่น แลกคะแนนสะสมเป็นตั๋วเครื่องบินหรือที่พัก ได้ทั้งประหยัด และไม่กระทบเงินเก็บด้วย
7️. ปฏิบัติตามกฎการเก็บเงินอย่างเคร่งครัด
กฎการเก็บเงินที่นิยมใช้กันคือ 50-30-20 ใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็น 50% ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือค่าใช้จ่ายไม่คาดคิด 30% เงินเก็บ 20% โดยที่เงินเก็บไม่ควรน้อยกว่า 20% สามารถเพิ่มขึ้นได้หากลดทอนค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเหลือ 30%
8️. ควบคุมอาหาร ได้ทั้งสุขภาพดีและเงินเก็บในกระเป๋า
งดทานมื้ออาหารนอกบ้านหรืออาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ ช่วยควบคุมได้ทั้งน้ำหนัก และมีเงินเหลือเก็บ
9. วางแผนเกษียณ
เป้าหมายเพื่อมีอิสรภาพทางการเงิน ฉะนั้นต้องกำหนดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณว่าต้องมีเท่าไหร่ โดยสามารถใช้สูตรช่วยคำนวณได้ เช่น ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณคือ 20,000 บาท ใน 1 ปี ต้องมีเงินเก็บ 240,000 บาท ใน 20 ปี ต้องมี 4,800,000 บาท เมื่อทราบจำนวนเงินเก็บที่ควรมีหลังเกษียณ ก็ใช้เครื่องมือในการลงทุนช่วยให้เงินเก็บออกดอกออกผล เช่น ลงทุนในกองทุนรวม ลงทุนในหุ้น ในทองคำ
10. ใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิต
บัตรเครดิตหากใช้อย่างถูกวิธีนอกจากไม่เป็นหนี้แล้วยังได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสาธารณูปโภค หรือใช้จ่ายของจำเป็นรายเดือน จากนั้นจะได้คืนกลับมาเป็นทั้งส่วนลดและเครดิตเงินคืน ที่สามารถนำไปแลกซื้อสินค้าได้อีก
- บัตรเครดิต ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
- สินเชื่อส่วนบุคคล กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว